0-2318-7235 ต่อ 450 bma4urban.information@gmail.com
Full 1
ขอเชิญชวนประชาชนตรวจดูองค์ประกอบของผังเมืองรวม

ซึ่งมีรายละเอียดของแผนที่ แผนผัง ข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดิน รายการประกอบแผนผัง และรายการอื่นๆ ที่เกี่ยวของ ของผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงครั้งที่ 4)

ซึ่งมีรายละเอียดของแผนที่ แผนผัง ข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดิน รายการประกอบแผนผัง และรายการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ของผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงครั้งที่ 4)

" กรุงเทพฯ มหานครแห่งเอเชีย (Bangkok: Vibrant of Asia)"

รักษาเอกลักษณ์

เมืองที่ดำรงรักษามรดกทางประวัติศาสตร์ และศิลปวัฒนธรรมซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาติ

คุณภาพชีวิต

เมืองที่สงวนรักษาสภาพแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ อย่างมีคุณค่า เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน

เป็นศูนย์กลาง

เมืองที่เป็นศูนย์กลางการบริหารการคมนาคมติดต่อสื่อสาร เศรษฐกิจและวิทยาการที่ทันสมัย

มีประสิทธิภาพ

เมืองที่มีความคล่องตัว และสะดวกสบาย ในการเดินทางโดยระบบคมนาคมขนส่ง ที่มีประสิทธิภาพ

เติบโตอย่างมีระเบียบ

เมืองที่มีการวางแผนการใช้ที่ดิน รองรับการเจริญเติบโตในอนาคตอย่างมีระเบียบแบบแผน

PLAN
FOR
BANGKOK

กรุงเทพมหานครเป็น “มหานคร” ที่เป็นศูนย์กลางการบริหารปกครองและศูนย์กลางความเจริญทุกด้าน ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การค้าและการบริการ การท่องเที่ยว ศูนย์กลางทางการเงิน การขนส่งและโลจิสติกส์ และเป็นแหล่งงานที่สำคัญของประเทศ ด้วยความเป็นศูนย์กลางดังกล่าว กรุงเทพมหานครจึงเป็นเมืองที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การก่อสร้างโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ของภาครัฐและเอกชน และการขยายตัวของประชากร ขณะเดียวกันยังคงต้องเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ ของเมือง เช่น ปัญหาการจราจร มลพิษทางอากาศ น้ำเสีย และภัยพิบัติต่าง ๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ เกิดความไม่สมดุลระหว่างพื้นที่พัฒนาเมืองและพื้นที่เกษตรกรรม ตลอดจนปัญหาสิ่งแวดล้อม สังคมและคุณภาพชีวิต หากไม่มีการวางแผนรองรับอย่างมีประสิทธิภาพจะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาพื้นที่ของกรุงเทพมหานครและพื้นที่ใกล้เคียง

หลักการและเหตุผล

สำนักการวางผังและพัฒนาเมืองได้ดำเนินโครงการวางและจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงครั้งที่ 4) ในปี พ.ศ. 2560 – 2562 เพื่อวางและจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครให้สอดคล้องกับสภาพการณ์และสิ่งแวดล้อมการพัฒนาเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปและจะประกาศเป็นกฎหมายใช้บังคับต่อเนื่องจากกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2556 ซึ่งเป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518

และต่อมาคณะกรรมการผังเมือง มีมติตามมาตรา 110 แห่งพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 “ให้ผังเมืองรวม ที่กรมโยธาธิการและผังเมือง หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้วางและจัดทำ ซึ่งยังไม่ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการผังเมือง (ชุดเดิม) ตามมาตรา 24 และมาตรา 26/1 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558 ให้กรมโยธาธิการและผังเมืองพิจารณากำหนดแนวทางและดำเนินการให้เป็นไปตามที่พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 กำหนดไว้ พร้อมทั้งแจ้งแนวทางการดำเนินการดังกล่าวให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป” ทำให้สำนักการวางผังและพัฒนาเมืองมีความจำเป็นต้องจัดทำร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครให้มีองค์ประกอบครบถ้วนตามที่กำหนดในมาตรา 22 โดยมีการดำเนินงานโดยสังเขปดังนี้

1) ทบทวนและปรับปรุงแผนผัง ประกอบด้วย (ก) แผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามที่ได้จำแนกประเภท (ข) แผนผังแสดงที่โล่ง (ค) แผนผังแสดงโครงการการคมนาคมและการขนส่ง (ง) แผนผังแสดงโครงการกิจการสาธารณูปโภค สาธารณูปการ และบริการสาธารณะ จัดทำแผนผังเพิ่มเติม ประกอบด้วย (จ) แผนผังแสดงแหล่งทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ฉ) แผนผังแสดงผังน้ำ (ช) แผนผังอื่น ๆ ที่จำเป็น รวมถึงรายการประกอบแผนผังและข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินที่จะปฏิบัติหรือไม่ให้ปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของผังเมืองรวมและแผนผังตาม (จ) (ฉ) และ (ช)

2) ทบทวน ปรับปรุง และวิเคราะห์คาดการณ์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้เป็นปัจจุบัน

3) ดำเนินการขั้นตอนการจัดประชุมประชาชนและการสงวนสิทธิ์ในการยื่นคำร้องขอให้แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกข้อกำหนดของประชาชน

วัตถุประสงค์โครงการ

• เพื่อทบทวนและปรับปรุงข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการวางและจัดทำร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงครั้งที่ 4) ให้เป็นปัจจุบัน
• เพื่อทบทวนและปรับปรุงแผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามที่ได้จำแนกประเภท แผนผังแสดงที่โล่ง แผนผังแสดงโครงการคมนาคมและขนส่ง และแผนผังแสดงโครงการกิจการสาธารณูปโภค ให้มีความสอดคล้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
• เพื่อศึกษา รวบรวม วิเคราะห์ และจัดทำแผนผังแสดงแหล่งทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แผนผังแสดงผังน้ำ รวมถึงแผนผังอื่น ๆ ที่จำเป็น (ถ้ามี) ของกรุงเทพมหานคร
• เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วม และสร้างความเข้าใจของประชาชนตามขั้นตอนแห่งพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562

เป้าหมาย

ร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงครั้งที่ 4) ที่มีองค์ประกอบตามที่กำหนดในมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 มีความสอดคล้องกับสภาพข้อเท็จจริงด้านกายภาพ นโยบายของภาครัฐ วิสัยทัศน์การพัฒนาเมือง ความต้องการของประชาชนและเป็นไปตามหลักวิชาการด้านผังเมือง

ขอบเขตการดำเนินงาน

ขอบเขตพื้นที่ศึกษา

การวางและจัดทำผังเมืองรวมครอบคลุมพื้นที่เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร
ทิศเหนือ       จดแนวเขตจังหวัดนนทบุรี และจังหวัดปทุมธานี
ทิศตะวันออก   จดแนวเขตจังหวัดฉะเชิงเทรา
ทิศใต้  จดแนวเขตจังหวัดสมุทรปราการ และอ่าวไทย
ทิศตะวันตกจดแนวเขตจังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนครปฐม
การศึกษาและวิเคราะห์ควรครอบคลุมพื้นที่ต่อเนื่อง ได้แก่ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดนครปฐม จังหวัดนครนายกและจังหวัดฉะเชิงเทรา ตามความจำเป็นของการศึกษาวิเคราะห์ในแต่ละด้าน

ขอบเขตการดำเนินงาน

  1. งานรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และประมวลผลข้อมูลประกอบการวางและจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร
    (1) งานปรับปรุงฐานข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน
    ข้อมูลด้านประชากร
    ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ การจ้างงาน และการท่องเที่ยว
    ข้อมูลด้านผังเมืองและการใช้ประโยชน์ที่ดิน
    ข้อมูลด้านคมนาคมและขนส่ง
    ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติ
    ข้อมูลด้านสาธารณูปโภค
    ข้อมูลด้านสังคมและสาธารณูปการ
    ข้อมูลด้านอุตสาหกรรม
    ข้อมูลด้านยุทธศาสตร์ความมั่นคง
    ข้อมูลด้านการวางผังชุมชนและภูมิทัศน์เมือง
    ข้อมูลด้านกฎหมายและมาตรการทางผังเมือง
    (2) งานรวบรวม ศึกษา และวิเคราะห์ข้อมูลเพิ่มเติม
    การศึกษาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    การศึกษาด้านระบบทางน้ำ
  2. งานจัดทำร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร
    (1) ทบทวนและปรับปรุงการวางและจัดทำแผนผังโครงสร้าง (Structure Plan) การพัฒนากรุงเทพมหานคร
    (2) ทบทวนและปรับปรุงแผนผังของกรุงเทพมหานครในอนาคต พ.ศ. 2580 และการกำหนดลำดับการพัฒนา (Development Phasing)
    (3) จัดทำร่างกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ให้มีองค์ประกอบครบถ้วนตามที่กำหนดในมาตรา 22 แห่ง พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562
    (4) ทบทวนและปรับปรุงการกำหนดลำดับการพัฒนาโครงการต่างๆ ในระยะ 5 ปี
    (5) ปรับแก้ไขร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร หลังการประชุมประชาชน
  3. งานสารสนเทศภูมิศาสตร์
    สนับสนุนการสำรวจและจัดเก็บข้อมูล และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อจัดทำฐานข้อมูล แผนที่ แผนผังและแผนภูมิ เพื่อประกอบการศึกษาวิเคราะห์เชิงพื้นที่ และการวางและจัดทผังเมืองเมืองรวมกรุงเทพมหานคร
  4. งานด้านการประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมของประชาชน
    (1) ขั้นตอนการจัดทำร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร
    • การจัดประชุมกลุ่มจังหวัดที่มีอาณาเขตติดต่อกับกรุงเทพฯ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (On Line) ร่วมกับการประชุมในสถานที่เอกชน (On Site) จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ครั้ง ครั้งละไม่น้อยกว่า 100 คน
    • การจัดประชุมหารือแนวทางวิธีการดำเนินการ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (On Line) ร่วมกับการประชุมในสถานที่เอกชน (On Site) จำนวนไม่น้อยกว่า 3 ครั้ง ครั้งละไม่น้อยกว่า 60 คน
    (2) ขั้นตอนการปิดประกาศเชิญชวนประชาชนเพื่อตรวจดูร่างแผนผังและเข้าร่วมประชุมรับฟังความคิดเห็นฯ (ตามมาตรา 9)
    • จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (On Line) ร่วมกับการประชุมในสถานที่ราชการหรือเอกชน (On Site) จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ครั้ง ครั้งละไม่น้อยกว่า 1,000 คน
    • จัดประชุมประชาชนสัญจรระดับกลุ่มเขต ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (On Line) ร่วมกับการประชุมในสถานที่ราชการ (On Site) จำนวนไม่น้อยกว่า 6 ครั้ง ครั้งละไม่น้อยกว่า 250 คน
    • จัดประชุมปรึกษาหารือผู้ทรงคุณวุฒิ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (On Line) ร่วมกับการประชุมในสถานที่เอกชน (On Site) จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ครั้ง ครั้งละไม่น้อยกว่า 500 คน
  5. ดูแลและปรับปรุง web site: Plan4bangkok.com

แผนดำเนินงานโครงการ

1. ระยะเวลาดำเนินการ

ระยะเวลาในการดำเนินการโครงการวางและจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงครั้งที่ 4) ตามขอบเขตและเงื่อนไขในการดำเนินการเป็นระยะเวลา 540 วัน นับถัดจากวันลงนามในสัญญา หรือตั้งแต่วันที่ 23 กันยายน 2565 เสร็จสิ้น 15 มีนาคม 2567

2. แผนการดำเนินการและการส่งมอบงาน

  • รายงานเบื้องต้น (Inception Report) ภายใน 30 วัน นับถัดจากวันลงนามในสัญญา
  • รายงานความก้าวหน้า (Progress Report) ภายใน 180 วัน นับถัดจากวันลงนามในสัญญา
  • รายงานการศึกษาขั้นกลาง (Interim Report) ภายใน 360 วัน นับถัดจากวันลงนามในสัญญา
  • รายงานฉบับสมบูรณ์ (Final Report) และรายงานสรุปผู้บริหาร (Executive Summary Report) ภายใน 540 วัน นับถัดจากวันลงนามในสัญญา


3. ความก้าวหน้าโครงการ
การดำเนินโครงการปัจจุบัน ณ เดือนตุลาคม 2565 อยู่ขั้นตอนที่ 1 การสำรวจ วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง และการปรับร่างผังเมืองรวมให้มีแผนผังครบถ้วน ตามมาตรา 22 ของพระราชบัญญัติผังเมือง พ.ศ. 2562

คณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับการผังเมือง

ประมวลภาพ

ผู้รับผิดชอบโครงการ

กรุงเทพมหานคร

173 ถนนดินสอ เสาชิงช้า พระนคร
กรุงเทพฯ 10200
โทรศัพท์ : 0-2221-2141-69

โลโก้-สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง-q0p8d5gjyd58ekufj2qomkc08q2k841xk0l4a662gw

สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง
กรุงเทพมหานคร

44 ถนนวิภาวดีรังสิต ดินแดง กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์ : 0-2354-1275-7
โทรสาร : 0-2354-1274-77

บริษัท โชติจินดา คอนซัลแตนท์ จำกัด

1473/4 อาคารโชติจินดา ซอยพัฒนาการ 31/1 ถนนพัฒนาการ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250
โทรศัพท์ : 0-2318-7235 ต่อ 450
โทรสาร : 0-2318-7236

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ติดต่อเรา

สำนักงานโครงการ สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง

ที่อยู่ : ชั้น 3 สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง เลขที่ 45 ถนนมิตรไมตรี แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์ : 0-2000-5312

บริษัท โชติจินดา คอนซัลแตนท์ จำกัด

1473/4 อาคารโชติจินดา (สำนักงานใหญ่)
ซอยพัฒนาการ 31/1 ถนนพัฒนาการ แขวงสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250
โทรศัพท์ : 0-2318-7235 ต่อ 450
โทรสาร : 0-2318-7236
E-mail : bma4urban.information@gmail.com

สำนักงานวางผังเมือง สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง

ที่อยู่ : เลขที่ 45 ถนนมิตรไมตรี แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400
โทรศัพท์ : 0-2354-1275-7

Visitor : 60,672