ครั้งที่ 1 กลุ่มกรุงเทพตะวันออก วันเสาร์ที่ 23 ธันวาคม 2566
ครั้งที่ 2 กลุ่มกรุงเทพกลาง วันเสาร์ที่ 23 ธันวาคม 2566
ครั้งที่ 3 กลุ่มกรุงธนใต้ วันเสาร์ที่ 23 ธันวาคม 2566
ครั้งที่ 4 กลุ่มกรุงเทพเหนือ วันอาทิตย์ที่ 24 ธันวาคม 2566
ครั้งที่ 5 กลุ่มกรุงธนเหนือ วันอาทิตย์ที่ 24 ธันวาคม 2566
ครั้งที่ 6 กลุ่มกรุงเทพใต้ วันอาทิตย์ที่ 24 ธันวาคม 2566
ครั้งที่ 1 ด้านการใช้ประโยชน์ที่ดิน และด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วันที่ 8 มิถุนายน 2566
ครั้งที่ 2 ด้านการคมนาคมการขนส่ง และด้านสาธารณูปโภค สาธารณูปการ และบริการสาธารณะ วันที่ 13 มิถุนายน 2566
ครั้งที่ 3 ด้านการบริหารจัดการน้ำ และด้านที่โล่ง วันที่ 15 มิถุนายน 2566
การประชุมระดมความคิดเห็น
แนวทางการปรับปรุงแผนผัง ข้อกำหนด และมาตรการทางผังเมือง
ครั้งที่ 1 “กลุ่มที่อยู่อาศัย”
วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤศจิกายน 2560 เวลา 09.00-12.00 นาฬิกา ณ ห้องประชุม Auditorium ชั้น 2
ศูนย์ประชุมสัมมนา เดอะ คอนเน็คชั่น (The Connecion Seminar Center) สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินลาดพร้าว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
สรุปสาระสำคัญ
ในอีก 20 ปีข้างหน้า ประชากรในเขตกรุงเทพมหานครมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลการจดทะเบียนที่อยู่อาศัยที่เพิ่มมากขึ้น โดยมากพบในเขตที่มีการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนทางราง ในส่วนของสายสีม่วง และสายสีเขียวส่วนต่อขยาย ทั้งนี้ ควรมีการคำนึงถึงการเตรียมการพัฒนาด้านที่อยู่อาศัยให้มีความสอดรับกับนโยบายทุกระดับ คือ การแก้ปัญหาชุมชนแออัดในเมือง การสนับสนุนการพัฒนาที่อยู่อาศัยให้มีมาตรฐาน ชุมชนเข้มแข็ง ชุมชนยั่งยืน และจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี การจัดให้มีที่อยู่อาศัยที่มีคุณภาพสำหรับผู้มีรายได้น้อย และการรองรับการเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ โดยมีมาตรการต่างๆ ในการส่งเสริมการพัฒนาที่อยู่อาศัย ได้แก่ FAR Bonus ในการจัดให้มีที่อยู่อาศัยราคาต่ำกว่าตลาด (Affordable Housing) หรือการจัดให้มีที่อยู่อาศัยสำหรับผู้อยู่อาศัยเดิมในพื้นที่โครงการ มาตรการ TDR และ PUD รวมถึงการใช้ผังเมืองเฉพาะเพื่อพัฒนาและฟื้นฟูย่านที่อยู่อาศัย การวางผังโครงการปรับปรุงพื้นที่เปลี่ยนถ่ายการสัญจร (TOD) ระยะ 500 เมตรโดยรอบสถานีรถไฟฟ้า การวางและจัดทำผังโครงการจัดรูปที่ดิน การวางและจัดทำโครงการเคหะสงเคราะห์
การประชุมระดมความคิดเห็น
แนวทางการปรับปรุงแผนผัง ข้อกำหนด และมาตรการทางผังเมือง
ครั้งที่ 2 “กลุ่มอุตสาหกรรม”
วันพุธที่ ๑๕ พฤศจิกายน 2560 เวลา 09.00-12.00 นาฬิกา ณ ห้องประชุม Auditorium ชั้น 2
ศูนย์ประชุมสัมมนา เดอะ คอนเน็คชั่น (The Connecion Seminar Center) สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินลาดพร้าว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
สรุปสาระสำคัญ
จากการศึกษาข้อมูลจำนวนโรงงาน และแรงงานในเขตกรุงเทพมหานคร มีแนวโน้มที่ลดลงอย่างชัดเจน ในขณะที่เงินทุนจดทะเบียนมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น สามารถบ่งชี้ได้ว่าการเพิ่มขึ้นของเงินลงทุนซึ่งสวนทางกับแรงงานมีผลมาจากการพึ่งพาเทคโนโลยีที่มีความเข้มข้นขึ้นในการประกอบกิจการอุตสาหกรรม ซึ่งจะเห็นการทำอุตสาหกรรมหนักในเขตกรุงเทพมหานครนั้นไม่ได้เป็นที่นิยมอีกต่อไป ตามนโยบายฯการพัฒนาประเทศไทย 4.0 ที่ได้มีการสนับสนุนไว้อย่างชัดเจนคือ ประเภทอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ที่เน้นการออกแบบเชิงบริการสร้างมูลค่า ทำให้มีความเหมาะสมที่จะผลักดันย่านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นในเขตกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้จะมีหน่วยงานสนับสนุนหลักได้แก่ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ และมีหน่วยงานมหาวิทยาลัยคอยดูแลกำกับการสร้างย่าน ซึ่งจะทำให้เกิดทิศทางการพัฒนาที่จะเสริมสร้างจุดแข็งและพัฒนาเศรษฐกิจของกรุงเทพมหานครได้อย่างดี ทั้งนี้ควรมีการกำหนดวิสัยทัศน์ และมาตรการทางผังเมืองของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์เพื่อก่อให้เกิดย่านสร้างสรรค์ขึ้นมาในเมืองอย่างเป็นรูปธรรม ควรส่งเสริมมาตรการทางผังเมือง
การประชุมระดมความคิดเห็น
แนวทางการปรับปรุงแผนผัง ข้อกำหนด และมาตรการทางผังเมือง
ครั้งที่ 3 “กลุ่มอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว”
วันศุกร์ที่ ๑๗ พฤศจิกายน 2560 เวลา 09.00-12.00 นาฬิกา ณ ห้องประชุม Auditorium ชั้น 2
ศูนย์ประชุมสัมมนา เดอะ คอนเน็คชั่น (The Connecion Seminar Center) สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินลาดพร้าว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
สรุปสาระสำคัญ
ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีโบราณสถานรวมทั้งหมด 549 รายการ พบว่ามีมาตรการในการบูรณะคุ้มครอง โดยการขึ้นทะเบียนของกรมศิลปากรแล้ว 191 รายการ ซึ่งยังไม่ได้รับขึ้นทะเบียนมากถึง 358 รายการ และยังมีมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้กระจายอยู่ทั่วพื้นที่ ในอนาคตกรุงเทพมหานครมีการคาดการณ์นักท่องเที่ยวที่จะเข้ามาในพื้นที่เพิ่มมากขึ้นอีกเท่าตัว จนทำให้เกิดปัญหาความเสื่อมโทรม และส่งผลให้มรดกทางวัฒนธรรมได้รับการดูแลไม่ทั่วถึงหากขาดการวางแผนพัฒนาที่เหมาะสม ตามกรอบวิสัยทัศน์กรุงเทพฯ 2575 มีนโยบายการพัฒนาย่านการค้าชุมชนดั่งเดิม ควบคู่กับการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และแผนพัฒนากรุงเทพมหานครระยะ 20 ปี เน้นถึงการมีส่วนร่วมของชุมชุมที่มีความพร้อมในการพัฒนาเป็นชุมชนท่องเที่ยว ส่วนแผนผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ได้จัดทำยุทธศาสตร์ 8 ด้าน ถ่ายลงสู่พื้นที่ 12 พื้นที่ทั่วกรุงรัตนโกสินทร์ ในการจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงครั้งที่ 4) มีการถ่ายนโยบายลงมาสู่แผนที่ครอบคลุมเรื่องการจัดทำแผนผังการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณพื้นที่การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวของกรุงเทพมหานครแทนการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทอนุรักษ์เพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมไทย (ศ1-ศ2) ซึ่งจะมีการแก้ไขแนวทางการควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินประกอบกับการควบคุมแบบซ้อนทับ (Overlay Control) โดยกฎหมายควบคุมอาคาร รวมถึงการใช้มาตรการโอนสิทธิการพัฒนา (Transfer of Development Right Transfer of Development Right หรือ TDR) จากอาคารอนุรักษ์ไปยังอาคารในพื้นที่ส่งเสริมการพัฒนา และแนวทางการอนุรักษ์เมือง (Urban Conservation Guidelines) อาศัยอำนาจแห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ทั้งนี้รวมถึงการกำแนวทางการบูรณะปฏิสังขรณ์โบราณสถาน และฟื้นฟูวิถีชุมชน การปรับปรุงชุมชนเพื่อการอยู่อาศัยและเพื่อรองรับกิจกรรมการท่องเที่ยว และการจัดทำผังเมืองเฉพาะเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาบริเวณพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อการท่องเที่ยวและบริเวณโดยรอบสถานีรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน
การประชุมระดมความคิดเห็น
แนวทางการปรับปรุงแผนผัง ข้อกำหนด และมาตรการทางผังเมือง
ครั้งที่ 4 “กลุ่มพาณิชยกรรม”
วันจันทร์ที่ ๒๐ พฤศจิกายน 2560 เวลา 08.30-12.00 นาฬิกา ณ ห้องประชุม Auditorium ชั้น 2
ศูนย์ประชุมสัมมนา เดอะ คอนเน็คชั่น (The Connecion Seminar Center) สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินลาดพร้าว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
สรุปสาระสำคัญ
ในพื้นที่กรุงเทพมหานครเป็นแหล่งศูนย์กลางย่านพาณิชยกรรม แหล่งรวมของศูนย์การค้า ย่านการค้าที่สำคัญ จากรายงานการประเมินผลกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2556 มีความเห็นต่อการจัดทำพื้นที่พาณิชยกรรมของกรุงเทพมหานคร โดยเห็นว่าควรจัดลำดับขั้นร้านค้าปลีกให้ชัดเจนและสัมพันธ์กับตำแหน่งพื้นที่เมือง เช่น Shopping Center Supermarket หรือ Lifestyle-mall และถ้าเป็นขนาด Regional Shopping Center ควรมีระบบขนส่งมวลชนช่วยรองรับการพัฒนา ควรส่งเสริมรูปแบบการพัฒนาในแนวสูง เน้นความหนาแน่นแบบ Mixed Use High Density และส่งเสริมการสร้างพื้นที่สาธารณะของเมือง ทั้งที่โล่งและพื้นที่สีเขียวและควรเพิ่มระยะส่งเสริมการพัฒนา 500 เมตร จากสถานีรถไฟฟ้า เพื่อส่งเสริมให้ภาคเอกชนลงทุน ทั้งนี้เพื่อให้สอดรับกับวิสัยทัศน์กรุงเทพฯ 2575 ที่กำหนดให้กรุงเทพมหานคร เป็นมหานครแห่งเอเชียมหานครแห่งเศรษฐกิจและการเรียนรู้ และแผนพัฒนากรุงเทพมหานครระยะ 20 ปี กำหนดกรุงเทพมหานครเป็นศูนย์การค้า การเงิน และการลงทุน เป็นศูนย์กลางการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าเกษตร สินค้าอุตสาหกรรมเกษตร และบริการสีเขียว เป็นเมืองนวัตกรรมวัฒนธรรมด้านศิลปะการแสดง การออกแบบและสร้างสรรค์ และให้กรุงเทพมหานครเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกมาสู่เมืองกรุงเทพฯ สู่จังหวัดต่าง ๆ ของไทย และสู่เมืองอื่น ๆ ในภูมิภาคอาเซียนและในเอเชีย รวมไปถึงเป็นเมืองจัดประชุม นิทรรศการ และจัดงานนานาชาติ
กรุงเทพมหานครควรมีแนวทางการพัฒนาให้มีความหนาแน่นและกระจุกตัวมากขึ้น พัฒนาในแนวดิ่งให้มีอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน (FAR) เพิ่มมากขึ้น ผังเมืองรวมควรกำหนดระบบแรงจูงใจ (Incentive: FAR Bonus) ให้มีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งจัดหามาตรการส่งเสริมการให้ Bonus ใหม่ และเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเมืองควรมีมาตรการชดเชยจากการถูกจำกัดสิทธิการพัฒนา เช่น การโอนสิทธิการพัฒนา (Transfer of Development Right หรือ TDR) ในพื้นที่อนุรักษ์เพื่อส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมไทย (สีน้ำตาลอ่อน) และพื้นที่อนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม (สีขาวมีกรอบและเส้นทแยงสีเขียว) และควรประสานมาตรการชดเชยจากการถูกจำกัดการพัฒนา เช่น การโอนสิทธิการพัฒนา (TDR) ใช้ร่วมกันระหว่างกรุงเทพมหานครและปริมณฑลรวมถึงผังเมืองรวมควรกำหนดผังพื้นที่เฉพาะบริเวณพื้นที่พาณิชยกรรมโดยรอบสถานีรถไฟฟ้า (Transit Oriented Development หรือ TOD) พื้นที่รอบจุดเปลี่ยนถ่ายการสัญจรรอบสถานีรถไฟฟ้า (TOD) รวมถึงส่งเสริมการเดินเท้าและใช้รถจักรยานให้มากขึ้น
การประชุมระดมความคิดเห็น
แนวทางการปรับปรุงแผนผัง ข้อกำหนด และมาตรการทางผังเมือง
ครั้งที่ 5 “กลุ่มเกษตรกรรม”
วันพุธที่ 22 พฤศจิกายน 2560 เวลา 08.30-12.00 นาฬิกา ณ ห้องประชุม Auditorium ชั้น 2
ศูนย์ประชุมสัมมนา เดอะ คอนเน็คชั่น (The Connecion Seminar Center) สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินลาดพร้าว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
สรุปสาระสำคัญ
พื้นที่เกษตรกรรมในพื้นที่กรุงเทพมหานครนั้นการบริหารจัดการน้ำ การระบายน้ำและการบำบัดน้ำเสีย เนื่องจากน้ำเป็นหัวใจสำคัญต่อการทำเกษตรกรรม โดยเฉพาะปัญหาการปล่อยน้ำเสียจากหมู่บ้านจัดสรรที่ขยายตัวรุกล้ำเข้าไปในพื้นที่เกษตรกรรมและมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อพื้นที่เกษตรกรรมอันเป็นพื้นที่ผลิตอาหารชั้นดีของเมือง ส่งผลโดยตรงต่อผลผลิตที่จะเกิดขึ้นในอนาคต อีกทั้งจำนวนแรงงานภาคเกษตรกรรมลดลง แต่จำนวนแรงงานที่ไม่ทราบเพิ่มขึ้น ในขณะที่รายได้ภาคเกษตรเพิ่มขึ้น การที่จำนวนเกษตรกรลดลงอาจเป็นผลมาจากกรรมสิทธิ์ที่ดินอีกปัจจัยหนึ่ง จากการที่ที่ดินส่วนมากเป็นของนายทุน เกษตรกรต้องรับภาระการเช่าที่เพื่อทำการเกษตรแต่ผลผลิตทางการเกษตรเสียหายจากคุณภาพน้ำซึ่งขาดการจัดการ จึงเป็นเหตุให้คนรุ่นใหม่ ลูกหลานชาวเกษตรกรเปลี่ยนสายงานอาชีพ และล้มเลิกการทำเกษตรกรรมมากขึ้น ทั้งนี้ควรส่งเสริมมาตรการทางผังเมืองเพื่อสนับสนุนการสงวนรักษาพื้นที่เกษตรกรรมชั้นดี คือ การโอนสิทธิการพัฒนา (Transfer of Development Rights : TDR) ซึ่งพื้นที่เกษตรกรรมสงวนรักษาเพื่อการระบายน้ำสามารถโอนสิทธิการพัฒนาสู่การพัฒนาพื้นที่เมืองชั้นในต่อไป
การประชุมระดมความคิดเห็น
แนวทางการปรับปรุงแผนผัง ข้อกำหนด และมาตรการทางผังเมือง
ครั้งที่ 6 “กลุ่มคมนาคมและขนส่ง”
วันศุกร์ที่ 24 พฤศจิกายน 2560 เวลา 08.30-12.00 นาฬิกา ณ ห้องประชุม Auditorium ชั้น 2
ศูนย์ประชุมสัมมนา เดอะ คอนเน็คชั่น (The Connecion Seminar Center) สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินลาดพร้าว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
สรุปสาระสำคัญ
การประเมินผลกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2556 โดยมุ่งเน้นการปรับผังการใช้ประโยชน์ที่ดินให้สอดคล้องกับระบบขนส่งมวลชนทางราง และส่งเสริมการพัฒนาโดยรอบสถานี ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการพัฒนาโดยรอบสถานีรถไฟฟ้าให้มากกว่าระยะ 500 เมตร รวมถึงควรมีการปรับปรุงรายละเอียดของข้อกำหนด คำนิยาม และแนวถนนตามผังโครงการคมนาคมและขนส่งให้ชัดเจน เพิ่มพื้นที่จอดรถ จากกฎหมายควบคุมอาคารในอาคารพักอาศัยรวม และจัดให้มีพื้นที่จอดรถสาธารณะตามสถานีรถไฟฟ้า ระบุหน่วยงานรับผิดชอบของแผนและงบประมาณของถนนโครงการและถนนเดิมขยาย และให้ความสำคัญกับศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้า เพื่อลดต้นทุนในการขนส่งสินค้า ในปัจจุบันกรุงเทพมหานครมีสถิติการจดทะเบียนรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (สะสม) และการใช้บริการรถไฟฟ้ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และสภาพการจราจรในเขตพื้นที่ชั้นในและชั้นกลางของกรุงเทพมหานครมีการจราจรที่อยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่ามาตรฐาน เพื่อให้มีความสอดคล้องต่อนโยบายการพัฒนา (ร่าง) แผนผังโครงสร้างด้านคมนาคมและขนส่งของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2580 ได้มุ่งเน้นการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟฟ้าโดยเฉพาะบริเวณที่เป็นจุดตัดของสถานี พัฒนาโครงข่ายของถนนสายรองเชื่อมต่อไปยังสถานีรถไฟฟ้าทั้งในเขตพื้นที่ชั้นในและชั้นกลาง และการจัดหาพื้นที่เพื่อพัฒนาเป็นศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้าทั้งทางบกและทางน้ำ ซึ่งในปัจจุบันกรุงเทพมหานครได้มีมาตรการ FAR Bonus ในการให้สิทธิการพัฒนาเพิ่มจากการจัดให้มีพื้นที่จอดรถยนต์ในบางสถานีเพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้ระบบขนส่งมวลชนทางรางแทนรถยนต์ และลดปัญหาการขาดพื้นที่จอดรถบริเวณสถานีที่เป็นจุดเปลี่ยนถ่ายการสัญจร นอกจากนี้ ยังมีโครงการซึ่งอยู่ในระหว่างศึกษา อาทิ การพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ (PUD) ซึ่งจะช่วยในการเพิ่มโครงสร้างพื้นฐานให้กับพื้นที่เมือง แนวทางการวางและจัดทำผังโครงการด้านคมนาคมและขนส่ง สามารถดำเนินการโดยการใช้เครื่องทางกฎหมาย อาทิ การวางและจัดทำผังเมืองเฉพาะเพื่อการพัฒนาพื้นที่เปลี่ยนถ่ายการสัญจร (TOD) โดยอาศัยพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 การวางและจัดทำผังโครงการจัดรูปที่ดิน (Land Readjustment) เพื่อพัฒนาย่านที่อยู่อาศัยโดยอาศัยพระราชบัญญัติเพื่อพัฒนาพื้นที่ พ.ศ. 2547 การดำเนินการให้เป็นไปตามข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินตามพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 รวมถึงการเว้นระยะอาคารริมถนนโดยข้อกำหนดการควบคุมระยะถอยร่น (Set back) ตามกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2556 ข้อ 36 วรรค 2 เป็นต้น
การประชุมระดมความคิดเห็น
แนวทางการปรับปรุงแผนผัง ข้อกำหนด และมาตรการทางผังเมือง
ครั้งที่ 7 “กลุ่มสาธารณูปการ”
วันพุธที่ 29 พฤศจิกายน 2560 เวลา 08.30-12.00 นาฬิกา ณ ห้องประชุม Auditorium ชั้น 2
ศูนย์ประชุมสัมมนา เดอะ คอนเน็คชั่น (The Connecion Seminar Center) สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินลาดพร้าว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
สรุปสาระสำคัญ
แก้ไขปัญหาด้านสาธารณูปการ จำเป็นจะต้องมีการจัดทำผังโครงสร้างด้านสาธารณูปการ โดยนำเสนอเป็นแผนผังแสดงโครงการสาธารณูปการ (เสนอแนะ) เพิ่มขึ้นมาในกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวม แยกย่อยเป็นสาขาต่าง ๆ ตามหมวดหมู่ด้านสาธารณูปการ เช่น แผนผังโครงสร้างสาธารณูปการด้านสถานศึกษา แผนผังโครงสร้างสาธารณูปการด้านสาธารณสุข แผนผังโครงสร้างสาธารณูปการด้านสวนสาธารณะ เป็นต้น ซึ่งเป็นผังที่จะเสนอแนะพื้นที่ที่ควรจะมีการเพิ่มเติมสาธารณูปการลงไปในพื้นที่ นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือทางผังเมืองอื่นๆ ที่สามารถนำมาสนับสนุนการพัฒนาด้านสาธารณูปการ ได้แก่ มาตรการให้อัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดินเพิ่มขึ้น (FAR Bonus) สำหรับการจัดให้มีพื้นที่เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือสวนสาธารณะ ข้อกำหนดการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ (Planned Unit Development หรือ PUD) เป็นต้น การจัดทำผังโครงการด้านสาธารณูปการสามารถใช้เครื่องมือทางผังเมืองต่าง ๆ ได้ดังนี้ การจัดทำผังเมืองเฉพาะเพื่อการพัฒนาพื้นที่เปลี่ยนถ่ายการสัญจร (Transit Oriented Development หรือ TOD) การวางและจัดทำผังโครงการจัดรูปที่ดิน (Land Readjustment) การวางและจัดทำโครงการพัฒนาทดแทนที่อยู่อาศัยเดิม (Housing Redevelopment) การวางและจัดทำโครงการปรับปรุงชุมชน (Community Development) และการจัดสรรที่ดิน
การประชุมระดมความคิดเห็น
แนวทางการปรับปรุงแผนผัง ข้อกำหนด และมาตรการทางผังเมือง
ครั้งที่ 8 “กลุ่มความปลอดภัย”
วันพุธที่ 6 ธันวาคม 2560 เวลา 08.30-12.00 นาฬิกา ณ ห้องประชุม Auditorium ชั้น 2
ศูนย์ประชุมสัมมนา เดอะ คอนเน็คชั่น (The Connecion Seminar Center) สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินลาดพร้าว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
สรุปสาระสำคัญ
ในพื้นที่กรุงเทพมหานครจะมีแนวโน้มการเกิดอาชญากรรมลดลง แต่การเกิดอัคคีภัยกลับเพิ่มขึ้นทุกปี จากนโยบายด้านความปลอดภัย มีการให้ความสำคัญกับความมั่นคงปลอดภัยเป็นสำคัญมาตั้งแต่ระดับยุทธศาสตร์ชาติ จากแนวคิด มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน โดยตั้งเป้าหมายให้สามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาความมั่นคงรูปแบบใหม่ ภัยคุกคามข้ามชาติ ภัยก่อการร้าย และเสริมสร้างความมั่นคงทางเทคโนโลยีสารสนเทศและไซเบอร์ ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 และแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ซึ่งตั้งเป้าหมายให้เป็นมหานครปลอดภัยผ่านมาตรการต่าง ๆ โดยแนวทางการวางและจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครเพื่อรองรับความปลอดภัย จะมีการถ่ายทอดเนื้อหามาตั้งแต่ระดับนโยบายลงมาสู่แผน ผ่านผังภาคมหานครและผังการใช้ประโยชน์ที่ดิน ด้วยการดำเนินการตามมาตรา 27 วรรค 2 แห่งพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 ซึ่งให้อำนาจในการแก้ไขการใช้ประโยชน์ที่ดินซึ่งขัดต่อหลักความปลอดภัยและสวัสดิภาพของสังคม ซึ่งจะเอื้อให้เกิดการจัดทำแผนผังโครงสร้างสาธารณูปการด้านความปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ให้เกิดการจัดวางสถานีตำรวจและสถานีดับเพลิงเพิ่มเติมในพื้นที่ที่อยู่นอกรัศมีการให้บริการ รวมไปถึงการจัดทำผังการติดตั้ง CCTV และป้อมตำรวจเพื่อสร้างความปลอดภัยในพื้นที่เสี่ยง และเชื่อมโยงข้อมูลกล้องจากภาคเอกชนเพื่อสร้างความมั่นคงในภาพรวม ซึ่งสามารถแสดงเนื้อหาได้ในแผนผังสาธารณูปการ ภายใต้แผนผังแสดงที่โล่งตาม ม.17 (3) (ข) และแผนผังแสดงโครงการสาธารณูปการจากการเสนอแนะ โดยสามารถถ่ายทอดผ่านโครงการที่สำคัญต่างๆ ได้แก่ โครงการพัฒนาฟื้นฟูย่านอุตสาหกรรมและคลังสินค้าเดิม โครงการวางผังและออกแบบพื้นที่เพื่อรองรับความปลอดภัยจากอาชญากรรมและการก่อการร้าย โครงการปรับปรุงฟื้นฟูชุมชน โครงการปรับปรุงอาคารและพื้นที่รกร้าง โครงการปรับปรุงเส้นทางสัญจร และโครงการปรับปรุงพื้นที่ด้านหลังอาคาร ซึ่งโครงการต่างๆ จะช่วยให้เกิดการถ่ายทอดแผนงานด้านความปลอดภัยมาสู่การพัฒนาพื้นที่จริงให้มีความมั่นคงปลอดภัยจากสถานการณ์ต่าง ๆ และเป็นการสร้างเสถียรภาพและความน่าเชื่อถือให้เกิดขึ้นกับกรุงเทพมหานครต่อไปในอนาคต
การประชุมระดมความคิดเห็น
แนวทางการปรับปรุงแผนผัง ข้อกำหนด และมาตรการทางผังเมือง
ครั้งที่ 9 “กลุ่มสถาบันราชการ”
วันพุธที่ 13 ธันวาคม 2560 เวลา 08.30-12.00 นาฬิกา ณ ห้องประชุม Auditorium ชั้น 2
ศูนย์ประชุมสัมมนา เดอะ คอนเน็คชั่น (The Connecion Seminar Center) สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินลาดพร้าว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
สรุปสาระสำคัญ
ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2556 กำหนดประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทสถาบันราชการ (ส.) และการใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นเขตพระราชฐาน/ทหาร ประมาณ ร้อยละ 4.5 ของการใช้ประโยชน์ที่ดินตามผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2556 ซึ่งมีความหนาแน่นค่อนข้างต่ำ และมีพื้นที่โล่งว่างอีกจำนวนมากมีศักยภาพการพัฒนาสูง มีเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินภาครัฐส่วนใหญ่เป็นของราชพัสดุ ประมาณร้อยละ 3.95 ของที่ดินทั้งหมดประกอบกับแนวโน้มการจ้างงานภาครัฐสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 2 แสนคนเป็น 4 แสนคน จากปี พ.ศ.2533 – 2553 ซึ่งมีการกระจายตัวของการจ้างงานอยู่ตามที่ดินภาครัฐอย่างมีความสัมพันธ์กัน และสามารถใช้ศักยภาพการเข้าถึงที่ดินภาครัฐให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นจากการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนทางรางในกรุงเทพมหานคร
การประชุมระดมความคิดเห็น
แนวทางการปรับปรุงแผนผัง ข้อกำหนด และมาตรการทางผังเมือง
ครั้งที่ 10 “กลุ่มสาธารณูปโภค”
วันศุกร์ที่ 15 ธันวาคม 2560 เวลา 08.30-12.00 นาฬิกา ณ ห้องประชุม Auditorium ชั้น 2
ศูนย์ประชุมสัมมนา เดอะ คอนเน็คชั่น (The Connecion Seminar Center) สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินลาดพร้าว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
สรุปสาระสำคัญ
จำนวนประชากรของกรุงเทพมหานครมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับมูลค่าทางเศรษฐกิจและการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นตามจำนวนประชากร ทำให้ความต้องการด้านสาธารณูปโภคมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในอนาคต ส่งผลไปถึงความต้องการด้านสาธารณูปโภคในอนาคตในแต่ละด้านที่จะเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะด้านไฟฟ้า น้ำประปา อินเตอร์เน็ต ปริมาณน้ำเสียที่ต้องกำจัด และปริมาณขยะมูลฝอย โดยแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯฉบับที่ 12 แผนพัฒนากรุงเทพฯ 20 ปี ระยะที่ 2 และวิสัยทัศน์กรุงเทพฯ 2575 มีแนวนโยบายให้กรุงเทพฯเป็นเมืองศูนย์กลาง เพียบพร้อมทั้งสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ปลอดมลพิษ และต้องมีทัศนียภาพที่งดงาม ประกอบกับตามพระราชบัญญัติผังเมืองรวม พ.ศ.2518 มาตรา 17 (3) ง ได้มีการระบุให้สามารถสงวนสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ที่เป็นที่ตั้งหรืออยู่ในแนวโครงข่ายสาธารณูปโภคได้ ภายในระยะเวลาบังคับใช้ผังเมืองรวม ซึ่งต้องแสดงขอบเขตให้ชัดเจนและจ่ายค่าชดเชยหรือยกเว้นภาษีในพื้นที่ดังกล่าว รูปแบบการคิดระบบสาธารณูปโภคควรใช้รูปแบบ Central System ในพื้นที่เมืองเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ และ Onsite System ในพื้นที่นอกเมืองในลักษณะติดตั้งเอง เพื่อให้เกิดความครอบคลุม รวมไปถึงรูปแบบ Common Utility Duct (ท่อสาธารณูปโภครวม) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบ ลดค่าบำรุงรักษาระยะยาว ส่งเสริมทัศนียภาพให้กับเมือง โดยสมควรให้มีในเขตกรุงเทพฯชั้นในและชั้นกลาง รวมถึงมาตรการที่ส่งเสริมด้านสาธารณูปโภค ประกอบด้วย กฎหมาย OSR FAR Bonus ให้มีที่กักเก็บน้ำฝน และโครงการ การโอนสิทธิการพัฒนา (TDR) ในพื้นที่อนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม