0-2318-7235 ต่อ 450 bma4urban.information@gmail.com

ประมวลภาพ

ประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชน (ประชุมใหญ่)

 วันที่ 6 มกราคม 2567

ประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชน (ประชุมกลุ่มเขต)

ครั้งที่ 1 กลุ่มกรุงเทพตะวันออก วันเสาร์ที่ 23 ธันวาคม 2566

ครั้งที่ 2 กลุ่มกรุงเทพกลาง วันเสาร์ที่ 23 ธันวาคม 2566

ครั้งที่ 3 กลุ่มกรุงธนใต้ วันเสาร์ที่ 23 ธันวาคม 2566

ครั้งที่ 4 กลุ่มกรุงเทพเหนือ วันอาทิตย์ที่ 24 ธันวาคม 2566

ครั้งที่ 5 กลุ่มกรุงธนเหนือ วันอาทิตย์ที่ 24 ธันวาคม 2566

ครั้งที่ 6 กลุ่มกรุงเทพใต้ วันอาทิตย์ที่ 24 ธันวาคม 2566

ประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นและปรึกษาหารือกับประชาชน ผู้ทรงคุณวุฒิ
ผู้ประกอบการรายสาขา องค์กรและสมาคมวิชาชีพ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

25 กรกฎาคม 2566

ประชุมหารือแนวทางวิธีการดำเนินการ ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง องค์กรและสมาคมวิชาชีพ

ครั้งที่ 1 ด้านการใช้ประโยชน์ที่ดิน และด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วันที่ 8 มิถุนายน 2566

ครั้งที่ 2 ด้านการคมนาคมการขนส่ง และด้านสาธารณูปโภค สาธารณูปการ และบริการสาธารณะ วันที่ 13 มิถุนายน 2566

ครั้งที่ 3 ด้านการบริหารจัดการน้ำ และด้านที่โล่ง วันที่ 15 มิถุนายน 2566

ประชุมกลุ่มจังหวัดที่มีอาณาเขตติดต่อกับกรุงเทพมหานคร

 วันที่ 5 เมษายน 2566

การประชุมหารือมาตรการทางผังเมือง และเเนวทางวิธีการดำเนินการ

ครั้งที่ 1 มาตรการโอนสิทธิการพัฒนา (TDR)
ครั้งที่ 2 มาตรการควบคุมเขตพื้นที่ซ้อนทับ (Overlay Control)
ครั้งที่ 3 มาตรการโครงการขนาดใหญ่ (PUD)
ครั้งที่ 4 มาตรการเพิ่มอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน (FAR Bonus)

การประชุมเพื่อบูรณาการแนวคิดการจัดทำร่างแผนผัง

ครั้งที่ 1 หารือร่วมกับหน่วยงานสังกัด กทม.(แผนผังโครงการคมนาคมและขนส่ง (1))
ครั้งที่ 2 การศึกษา (แผนผังแสดงโครงการกิจการสาธารณูปการ (1))
ครั้งที่ 3 การบริการสาธารณสุข (แผนผังแสดงโครงการกิจการสาธารณูปการ (2))
ครั้งที่ 4 ไฟฟ้า (แผนผังแสดงโครงการกิจการสาธารณูปโภค (1))
ครั้งที่ 5 ประปา (แผนผังแสดงโครงการกิจการสาธารณูปโภค (2))
ครั้งที่ 6 การจัดการขยะ (แผนผังแสดงโครงการกิจการสาธารณูปโภค (3))
ครั้งที่ 7 ร่างแผนผังแสดงที่โล่ง
ครั้งที่ 8 การระบายน้ำและป้องกันน้ำท่วม (แผนผังแสดงโครงการกิจการสาธารณูปโภค (4))
ครั้งที่ 9 หารือร่วมกับจังหวัดปริมณฑล และกรมโยธาฯ (แผนผังโครงการคมนาคมและขนส่ง (2))
ครั้งที่ 10 หารือร่วมกับหน่วยงานด้านการคมนาคมและขนส่ง (แผนผังโครงการคมนาคมและขนส่ง (3))
ครั้งที่ 11 ที่อยู่อาศัย (ร่างแผนผังการใช้ประโยชน์ที่ดิน (1))
ครั้งที่ 12 พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม และคลังสินค้า (ร่างแผนผังการใช้ประโยชน์ที่ดิน (2))
ครั้งที่ 13 การสื่อสารและโทรคมนาคม (แผนผังแสดงโครงการกิจการสาธารณูปโภค (5))
ครั้งที่ 14 พื้นที่อนุรักษ์ประวัติศาสตร์ (ร่างแผนผังการใช้ประโยชน์ที่ดิน (3))
ครั้งที่ 15 ความปลอดภัย (แผนผังแสดงโครงการกิจการสาธารณูปการ (3))

การประชุมคณะทำงานร่วม (WORKING GROUP)

ครั้งที่ 1 “กลุ่มที่อยู่อาศัย”

การประชุมระดมความคิดเห็น
แนวทางการปรับปรุงแผนผัง ข้อกำหนด และมาตรการทางผังเมือง
ครั้งที่ 1 “กลุ่มที่อยู่อาศัย”
วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤศจิกายน 2560 เวลา 09.00-12.00 นาฬิกา ณ ห้องประชุม Auditorium ชั้น 2
ศูนย์ประชุมสัมมนา เดอะ คอนเน็คชั่น (The Connecion Seminar Center) สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินลาดพร้าว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร

สรุปสาระสำคัญ
ในอีก 20 ปีข้างหน้า ประชากรในเขตกรุงเทพมหานครมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลการจดทะเบียนที่อยู่อาศัยที่เพิ่มมากขึ้น โดยมากพบในเขตที่มีการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนทางราง ในส่วนของสายสีม่วง และสายสีเขียวส่วนต่อขยาย ทั้งนี้ ควรมีการคำนึงถึงการเตรียมการพัฒนาด้านที่อยู่อาศัยให้มีความสอดรับกับนโยบายทุกระดับ คือ การแก้ปัญหาชุมชนแออัดในเมือง การสนับสนุนการพัฒนาที่อยู่อาศัยให้มีมาตรฐาน ชุมชนเข้มแข็ง ชุมชนยั่งยืน และจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี การจัดให้มีที่อยู่อาศัยที่มีคุณภาพสำหรับผู้มีรายได้น้อย และการรองรับการเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ โดยมีมาตรการต่างๆ ในการส่งเสริมการพัฒนาที่อยู่อาศัย ได้แก่ FAR Bonus ในการจัดให้มีที่อยู่อาศัยราคาต่ำกว่าตลาด (Affordable Housing) หรือการจัดให้มีที่อยู่อาศัยสำหรับผู้อยู่อาศัยเดิมในพื้นที่โครงการ มาตรการ TDR และ PUD รวมถึงการใช้ผังเมืองเฉพาะเพื่อพัฒนาและฟื้นฟูย่านที่อยู่อาศัย การวางผังโครงการปรับปรุงพื้นที่เปลี่ยนถ่ายการสัญจร (TOD) ระยะ 500 เมตรโดยรอบสถานีรถไฟฟ้า การวางและจัดทำผังโครงการจัดรูปที่ดิน การวางและจัดทำโครงการเคหะสงเคราะห์

ครั้งที่ 2 “กลุ่มอุตสาหกรรม”

การประชุมระดมความคิดเห็น
แนวทางการปรับปรุงแผนผัง ข้อกำหนด และมาตรการทางผังเมือง
ครั้งที่ 2 “กลุ่มอุตสาหกรรม”
วันพุธที่ ๑๕ พฤศจิกายน 2560 เวลา 09.00-12.00 นาฬิกา ณ ห้องประชุม Auditorium ชั้น 2
ศูนย์ประชุมสัมมนา เดอะ คอนเน็คชั่น (The Connecion Seminar Center) สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินลาดพร้าว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร

สรุปสาระสำคัญ
จากการศึกษาข้อมูลจำนวนโรงงาน และแรงงานในเขตกรุงเทพมหานคร มีแนวโน้มที่ลดลงอย่างชัดเจน ในขณะที่เงินทุนจดทะเบียนมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น สามารถบ่งชี้ได้ว่าการเพิ่มขึ้นของเงินลงทุนซึ่งสวนทางกับแรงงานมีผลมาจากการพึ่งพาเทคโนโลยีที่มีความเข้มข้นขึ้นในการประกอบกิจการอุตสาหกรรม ซึ่งจะเห็นการทำอุตสาหกรรมหนักในเขตกรุงเทพมหานครนั้นไม่ได้เป็นที่นิยมอีกต่อไป ตามนโยบายฯการพัฒนาประเทศไทย 4.0 ที่ได้มีการสนับสนุนไว้อย่างชัดเจนคือ ประเภทอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ที่เน้นการออกแบบเชิงบริการสร้างมูลค่า ทำให้มีความเหมาะสมที่จะผลักดันย่านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นในเขตกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้จะมีหน่วยงานสนับสนุนหลักได้แก่ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ และมีหน่วยงานมหาวิทยาลัยคอยดูแลกำกับการสร้างย่าน ซึ่งจะทำให้เกิดทิศทางการพัฒนาที่จะเสริมสร้างจุดแข็งและพัฒนาเศรษฐกิจของกรุงเทพมหานครได้อย่างดี ทั้งนี้ควรมีการกำหนดวิสัยทัศน์ และมาตรการทางผังเมืองของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์เพื่อก่อให้เกิดย่านสร้างสรรค์ขึ้นมาในเมืองอย่างเป็นรูปธรรม ควรส่งเสริมมาตรการทางผังเมือง

ครั้งที่ 3 “กลุ่มอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว”

การประชุมระดมความคิดเห็น
แนวทางการปรับปรุงแผนผัง ข้อกำหนด และมาตรการทางผังเมือง
ครั้งที่ 3 “กลุ่มอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว”
วันศุกร์ที่ ๑๗ พฤศจิกายน 2560 เวลา 09.00-12.00 นาฬิกา ณ ห้องประชุม Auditorium ชั้น 2
ศูนย์ประชุมสัมมนา เดอะ คอนเน็คชั่น (The Connecion Seminar Center) สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินลาดพร้าว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร

สรุปสาระสำคัญ
ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีโบราณสถานรวมทั้งหมด 549 รายการ พบว่ามีมาตรการในการบูรณะคุ้มครอง โดยการขึ้นทะเบียนของกรมศิลปากรแล้ว 191 รายการ ซึ่งยังไม่ได้รับขึ้นทะเบียนมากถึง 358 รายการ และยังมีมรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้กระจายอยู่ทั่วพื้นที่ ในอนาคตกรุงเทพมหานครมีการคาดการณ์นักท่องเที่ยวที่จะเข้ามาในพื้นที่เพิ่มมากขึ้นอีกเท่าตัว จนทำให้เกิดปัญหาความเสื่อมโทรม และส่งผลให้มรดกทางวัฒนธรรมได้รับการดูแลไม่ทั่วถึงหากขาดการวางแผนพัฒนาที่เหมาะสม ตามกรอบวิสัยทัศน์กรุงเทพฯ 2575 มีนโยบายการพัฒนาย่านการค้าชุมชนดั่งเดิม ควบคู่กับการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และแผนพัฒนากรุงเทพมหานครระยะ 20 ปี เน้นถึงการมีส่วนร่วมของชุมชุมที่มีความพร้อมในการพัฒนาเป็นชุมชนท่องเที่ยว ส่วนแผนผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ได้จัดทำยุทธศาสตร์ 8 ด้าน ถ่ายลงสู่พื้นที่ 12 พื้นที่ทั่วกรุงรัตนโกสินทร์ ในการจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงครั้งที่ 4) มีการถ่ายนโยบายลงมาสู่แผนที่ครอบคลุมเรื่องการจัดทำแผนผังการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณพื้นที่การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวของกรุงเทพมหานครแทนการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทอนุรักษ์เพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมไทย (ศ1-ศ2) ซึ่งจะมีการแก้ไขแนวทางการควบคุมการใช้ประโยชน์ที่ดินประกอบกับการควบคุมแบบซ้อนทับ (Overlay Control) โดยกฎหมายควบคุมอาคาร รวมถึงการใช้มาตรการโอนสิทธิการพัฒนา (Transfer of Development Right Transfer of Development Right หรือ TDR) จากอาคารอนุรักษ์ไปยังอาคารในพื้นที่ส่งเสริมการพัฒนา และแนวทางการอนุรักษ์เมือง (Urban Conservation Guidelines) อาศัยอำนาจแห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ทั้งนี้รวมถึงการกำแนวทางการบูรณะปฏิสังขรณ์โบราณสถาน และฟื้นฟูวิถีชุมชน การปรับปรุงชุมชนเพื่อการอยู่อาศัยและเพื่อรองรับกิจกรรมการท่องเที่ยว และการจัดทำผังเมืองเฉพาะเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาบริเวณพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อการท่องเที่ยวและบริเวณโดยรอบสถานีรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน

ครั้งที่ 4 “กลุ่มพาณิชยกรรม”

การประชุมระดมความคิดเห็น
แนวทางการปรับปรุงแผนผัง ข้อกำหนด และมาตรการทางผังเมือง
ครั้งที่ 4 “กลุ่มพาณิชยกรรม”
วันจันทร์ที่ ๒๐ พฤศจิกายน 2560 เวลา 08.30-12.00 นาฬิกา ณ ห้องประชุม Auditorium ชั้น 2
ศูนย์ประชุมสัมมนา เดอะ คอนเน็คชั่น (The Connecion Seminar Center) สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินลาดพร้าว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร

สรุปสาระสำคัญ
ในพื้นที่กรุงเทพมหานครเป็นแหล่งศูนย์กลางย่านพาณิชยกรรม แหล่งรวมของศูนย์การค้า ย่านการค้าที่สำคัญ จากรายงานการประเมินผลกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2556 มีความเห็นต่อการจัดทำพื้นที่พาณิชยกรรมของกรุงเทพมหานคร โดยเห็นว่าควรจัดลำดับขั้นร้านค้าปลีกให้ชัดเจนและสัมพันธ์กับตำแหน่งพื้นที่เมือง เช่น Shopping Center Supermarket หรือ Lifestyle-mall และถ้าเป็นขนาด Regional Shopping Center ควรมีระบบขนส่งมวลชนช่วยรองรับการพัฒนา ควรส่งเสริมรูปแบบการพัฒนาในแนวสูง เน้นความหนาแน่นแบบ Mixed Use High Density และส่งเสริมการสร้างพื้นที่สาธารณะของเมือง ทั้งที่โล่งและพื้นที่สีเขียวและควรเพิ่มระยะส่งเสริมการพัฒนา 500 เมตร จากสถานีรถไฟฟ้า เพื่อส่งเสริมให้ภาคเอกชนลงทุน ทั้งนี้เพื่อให้สอดรับกับวิสัยทัศน์กรุงเทพฯ 2575 ที่กำหนดให้กรุงเทพมหานคร เป็นมหานครแห่งเอเชียมหานครแห่งเศรษฐกิจและการเรียนรู้ และแผนพัฒนากรุงเทพมหานครระยะ 20 ปี กำหนดกรุงเทพมหานครเป็นศูนย์การค้า การเงิน และการลงทุน เป็นศูนย์กลางการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าเกษตร สินค้าอุตสาหกรรมเกษตร และบริการสีเขียว เป็นเมืองนวัตกรรมวัฒนธรรมด้านศิลปะการแสดง การออกแบบและสร้างสรรค์ และให้กรุงเทพมหานครเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกมาสู่เมืองกรุงเทพฯ สู่จังหวัดต่าง ๆ ของไทย และสู่เมืองอื่น ๆ ในภูมิภาคอาเซียนและในเอเชีย รวมไปถึงเป็นเมืองจัดประชุม นิทรรศการ และจัดงานนานาชาติ

กรุงเทพมหานครควรมีแนวทางการพัฒนาให้มีความหนาแน่นและกระจุกตัวมากขึ้น พัฒนาในแนวดิ่งให้มีอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน (FAR) เพิ่มมากขึ้น ผังเมืองรวมควรกำหนดระบบแรงจูงใจ (Incentive: FAR Bonus) ให้มีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งจัดหามาตรการส่งเสริมการให้ Bonus ใหม่ และเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเมืองควรมีมาตรการชดเชยจากการถูกจำกัดสิทธิการพัฒนา เช่น การโอนสิทธิการพัฒนา (Transfer of Development Right หรือ TDR) ในพื้นที่อนุรักษ์เพื่อส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมไทย (สีน้ำตาลอ่อน) และพื้นที่อนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม (สีขาวมีกรอบและเส้นทแยงสีเขียว) และควรประสานมาตรการชดเชยจากการถูกจำกัดการพัฒนา เช่น การโอนสิทธิการพัฒนา (TDR) ใช้ร่วมกันระหว่างกรุงเทพมหานครและปริมณฑลรวมถึงผังเมืองรวมควรกำหนดผังพื้นที่เฉพาะบริเวณพื้นที่พาณิชยกรรมโดยรอบสถานีรถไฟฟ้า (Transit Oriented Development หรือ TOD) พื้นที่รอบจุดเปลี่ยนถ่ายการสัญจรรอบสถานีรถไฟฟ้า (TOD) รวมถึงส่งเสริมการเดินเท้าและใช้รถจักรยานให้มากขึ้น

ครั้งที่ 5 “กลุ่มเกษตรกรรม”

การประชุมระดมความคิดเห็น
แนวทางการปรับปรุงแผนผัง ข้อกำหนด และมาตรการทางผังเมือง
ครั้งที่ 5 “กลุ่มเกษตรกรรม”
วันพุธที่ 22 พฤศจิกายน 2560 เวลา 08.30-12.00 นาฬิกา ณ ห้องประชุม Auditorium ชั้น 2
ศูนย์ประชุมสัมมนา เดอะ คอนเน็คชั่น (The Connecion Seminar Center) สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินลาดพร้าว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร

สรุปสาระสำคัญ
พื้นที่เกษตรกรรมในพื้นที่กรุงเทพมหานครนั้นการบริหารจัดการน้ำ การระบายน้ำและการบำบัดน้ำเสีย เนื่องจากน้ำเป็นหัวใจสำคัญต่อการทำเกษตรกรรม โดยเฉพาะปัญหาการปล่อยน้ำเสียจากหมู่บ้านจัดสรรที่ขยายตัวรุกล้ำเข้าไปในพื้นที่เกษตรกรรมและมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อพื้นที่เกษตรกรรมอันเป็นพื้นที่ผลิตอาหารชั้นดีของเมือง ส่งผลโดยตรงต่อผลผลิตที่จะเกิดขึ้นในอนาคต อีกทั้งจำนวนแรงงานภาคเกษตรกรรมลดลง แต่จำนวนแรงงานที่ไม่ทราบเพิ่มขึ้น ในขณะที่รายได้ภาคเกษตรเพิ่มขึ้น การที่จำนวนเกษตรกรลดลงอาจเป็นผลมาจากกรรมสิทธิ์ที่ดินอีกปัจจัยหนึ่ง จากการที่ที่ดินส่วนมากเป็นของนายทุน เกษตรกรต้องรับภาระการเช่าที่เพื่อทำการเกษตรแต่ผลผลิตทางการเกษตรเสียหายจากคุณภาพน้ำซึ่งขาดการจัดการ จึงเป็นเหตุให้คนรุ่นใหม่ ลูกหลานชาวเกษตรกรเปลี่ยนสายงานอาชีพ และล้มเลิกการทำเกษตรกรรมมากขึ้น ทั้งนี้ควรส่งเสริมมาตรการทางผังเมืองเพื่อสนับสนุนการสงวนรักษาพื้นที่เกษตรกรรมชั้นดี คือ การโอนสิทธิการพัฒนา (Transfer of Development Rights : TDR) ซึ่งพื้นที่เกษตรกรรมสงวนรักษาเพื่อการระบายน้ำสามารถโอนสิทธิการพัฒนาสู่การพัฒนาพื้นที่เมืองชั้นในต่อไป

ครั้งที่ 6 “กลุ่มคมนาคมและขนส่ง”

การประชุมระดมความคิดเห็น
แนวทางการปรับปรุงแผนผัง ข้อกำหนด และมาตรการทางผังเมือง
ครั้งที่ 6 “กลุ่มคมนาคมและขนส่ง”
วันศุกร์ที่ 24 พฤศจิกายน 2560 เวลา 08.30-12.00 นาฬิกา ณ ห้องประชุม Auditorium ชั้น 2
ศูนย์ประชุมสัมมนา เดอะ คอนเน็คชั่น (The Connecion Seminar Center) สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินลาดพร้าว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร

สรุปสาระสำคัญ
การประเมินผลกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2556 โดยมุ่งเน้นการปรับผังการใช้ประโยชน์ที่ดินให้สอดคล้องกับระบบขนส่งมวลชนทางราง และส่งเสริมการพัฒนาโดยรอบสถานี ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการพัฒนาโดยรอบสถานีรถไฟฟ้าให้มากกว่าระยะ 500 เมตร รวมถึงควรมีการปรับปรุงรายละเอียดของข้อกำหนด คำนิยาม และแนวถนนตามผังโครงการคมนาคมและขนส่งให้ชัดเจน เพิ่มพื้นที่จอดรถ จากกฎหมายควบคุมอาคารในอาคารพักอาศัยรวม และจัดให้มีพื้นที่จอดรถสาธารณะตามสถานีรถไฟฟ้า ระบุหน่วยงานรับผิดชอบของแผนและงบประมาณของถนนโครงการและถนนเดิมขยาย และให้ความสำคัญกับศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้า เพื่อลดต้นทุนในการขนส่งสินค้า ในปัจจุบันกรุงเทพมหานครมีสถิติการจดทะเบียนรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (สะสม) และการใช้บริการรถไฟฟ้ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และสภาพการจราจรในเขตพื้นที่ชั้นในและชั้นกลางของกรุงเทพมหานครมีการจราจรที่อยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่ามาตรฐาน เพื่อให้มีความสอดคล้องต่อนโยบายการพัฒนา (ร่าง) แผนผังโครงสร้างด้านคมนาคมและขนส่งของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2580 ได้มุ่งเน้นการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟฟ้าโดยเฉพาะบริเวณที่เป็นจุดตัดของสถานี พัฒนาโครงข่ายของถนนสายรองเชื่อมต่อไปยังสถานีรถไฟฟ้าทั้งในเขตพื้นที่ชั้นในและชั้นกลาง และการจัดหาพื้นที่เพื่อพัฒนาเป็นศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้าทั้งทางบกและทางน้ำ ซึ่งในปัจจุบันกรุงเทพมหานครได้มีมาตรการ FAR Bonus ในการให้สิทธิการพัฒนาเพิ่มจากการจัดให้มีพื้นที่จอดรถยนต์ในบางสถานีเพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้ระบบขนส่งมวลชนทางรางแทนรถยนต์ และลดปัญหาการขาดพื้นที่จอดรถบริเวณสถานีที่เป็นจุดเปลี่ยนถ่ายการสัญจร นอกจากนี้ ยังมีโครงการซึ่งอยู่ในระหว่างศึกษา อาทิ การพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ (PUD) ซึ่งจะช่วยในการเพิ่มโครงสร้างพื้นฐานให้กับพื้นที่เมือง แนวทางการวางและจัดทำผังโครงการด้านคมนาคมและขนส่ง สามารถดำเนินการโดยการใช้เครื่องทางกฎหมาย อาทิ การวางและจัดทำผังเมืองเฉพาะเพื่อการพัฒนาพื้นที่เปลี่ยนถ่ายการสัญจร (TOD) โดยอาศัยพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 การวางและจัดทำผังโครงการจัดรูปที่ดิน (Land Readjustment) เพื่อพัฒนาย่านที่อยู่อาศัยโดยอาศัยพระราชบัญญัติเพื่อพัฒนาพื้นที่ พ.ศ. 2547 การดำเนินการให้เป็นไปตามข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินตามพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 รวมถึงการเว้นระยะอาคารริมถนนโดยข้อกำหนดการควบคุมระยะถอยร่น (Set back) ตามกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2556 ข้อ 36 วรรค 2 เป็นต้น

ครั้งที่ 7 “กลุ่มสาธารณูปการ”

การประชุมระดมความคิดเห็น
แนวทางการปรับปรุงแผนผัง ข้อกำหนด และมาตรการทางผังเมือง
ครั้งที่ 7 “กลุ่มสาธารณูปการ”
วันพุธที่ 29 พฤศจิกายน 2560 เวลา 08.30-12.00 นาฬิกา ณ ห้องประชุม Auditorium ชั้น 2
ศูนย์ประชุมสัมมนา เดอะ คอนเน็คชั่น (The Connecion Seminar Center) สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินลาดพร้าว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร

สรุปสาระสำคัญ
แก้ไขปัญหาด้านสาธารณูปการ จำเป็นจะต้องมีการจัดทำผังโครงสร้างด้านสาธารณูปการ โดยนำเสนอเป็นแผนผังแสดงโครงการสาธารณูปการ (เสนอแนะ) เพิ่มขึ้นมาในกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวม แยกย่อยเป็นสาขาต่าง ๆ ตามหมวดหมู่ด้านสาธารณูปการ เช่น แผนผังโครงสร้างสาธารณูปการด้านสถานศึกษา แผนผังโครงสร้างสาธารณูปการด้านสาธารณสุข แผนผังโครงสร้างสาธารณูปการด้านสวนสาธารณะ เป็นต้น ซึ่งเป็นผังที่จะเสนอแนะพื้นที่ที่ควรจะมีการเพิ่มเติมสาธารณูปการลงไปในพื้นที่ นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือทางผังเมืองอื่นๆ ที่สามารถนำมาสนับสนุนการพัฒนาด้านสาธารณูปการ ได้แก่ มาตรการให้อัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดินเพิ่มขึ้น (FAR Bonus) สำหรับการจัดให้มีพื้นที่เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือสวนสาธารณะ ข้อกำหนดการพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ (Planned Unit Development หรือ PUD) เป็นต้น การจัดทำผังโครงการด้านสาธารณูปการสามารถใช้เครื่องมือทางผังเมืองต่าง ๆ ได้ดังนี้ การจัดทำผังเมืองเฉพาะเพื่อการพัฒนาพื้นที่เปลี่ยนถ่ายการสัญจร (Transit Oriented Development หรือ TOD) การวางและจัดทำผังโครงการจัดรูปที่ดิน (Land Readjustment) การวางและจัดทำโครงการพัฒนาทดแทนที่อยู่อาศัยเดิม (Housing Redevelopment) การวางและจัดทำโครงการปรับปรุงชุมชน (Community Development) และการจัดสรรที่ดิน

ครั้งที่ 8 “กลุ่มความปลอดภัย”

การประชุมระดมความคิดเห็น
แนวทางการปรับปรุงแผนผัง ข้อกำหนด และมาตรการทางผังเมือง
ครั้งที่ 8 “กลุ่มความปลอดภัย”
วันพุธที่ 6 ธันวาคม 2560 เวลา 08.30-12.00 นาฬิกา ณ ห้องประชุม Auditorium ชั้น 2
ศูนย์ประชุมสัมมนา เดอะ คอนเน็คชั่น (The Connecion Seminar Center) สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินลาดพร้าว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร

สรุปสาระสำคัญ
ในพื้นที่กรุงเทพมหานครจะมีแนวโน้มการเกิดอาชญากรรมลดลง แต่การเกิดอัคคีภัยกลับเพิ่มขึ้นทุกปี จากนโยบายด้านความปลอดภัย มีการให้ความสำคัญกับความมั่นคงปลอดภัยเป็นสำคัญมาตั้งแต่ระดับยุทธศาสตร์ชาติ จากแนวคิด มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน โดยตั้งเป้าหมายให้สามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาความมั่นคงรูปแบบใหม่ ภัยคุกคามข้ามชาติ ภัยก่อการร้าย และเสริมสร้างความมั่นคงทางเทคโนโลยีสารสนเทศและไซเบอร์ ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 และแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ซึ่งตั้งเป้าหมายให้เป็นมหานครปลอดภัยผ่านมาตรการต่าง ๆ โดยแนวทางการวางและจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครเพื่อรองรับความปลอดภัย จะมีการถ่ายทอดเนื้อหามาตั้งแต่ระดับนโยบายลงมาสู่แผน ผ่านผังภาคมหานครและผังการใช้ประโยชน์ที่ดิน ด้วยการดำเนินการตามมาตรา 27 วรรค 2 แห่งพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 ซึ่งให้อำนาจในการแก้ไขการใช้ประโยชน์ที่ดินซึ่งขัดต่อหลักความปลอดภัยและสวัสดิภาพของสังคม ซึ่งจะเอื้อให้เกิดการจัดทำแผนผังโครงสร้างสาธารณูปการด้านความปลอดภัยของกรุงเทพมหานคร ให้เกิดการจัดวางสถานีตำรวจและสถานีดับเพลิงเพิ่มเติมในพื้นที่ที่อยู่นอกรัศมีการให้บริการ รวมไปถึงการจัดทำผังการติดตั้ง CCTV และป้อมตำรวจเพื่อสร้างความปลอดภัยในพื้นที่เสี่ยง และเชื่อมโยงข้อมูลกล้องจากภาคเอกชนเพื่อสร้างความมั่นคงในภาพรวม ซึ่งสามารถแสดงเนื้อหาได้ในแผนผังสาธารณูปการ ภายใต้แผนผังแสดงที่โล่งตาม ม.17 (3) (ข) และแผนผังแสดงโครงการสาธารณูปการจากการเสนอแนะ โดยสามารถถ่ายทอดผ่านโครงการที่สำคัญต่างๆ ได้แก่ โครงการพัฒนาฟื้นฟูย่านอุตสาหกรรมและคลังสินค้าเดิม โครงการวางผังและออกแบบพื้นที่เพื่อรองรับความปลอดภัยจากอาชญากรรมและการก่อการร้าย โครงการปรับปรุงฟื้นฟูชุมชน โครงการปรับปรุงอาคารและพื้นที่รกร้าง โครงการปรับปรุงเส้นทางสัญจร และโครงการปรับปรุงพื้นที่ด้านหลังอาคาร ซึ่งโครงการต่างๆ จะช่วยให้เกิดการถ่ายทอดแผนงานด้านความปลอดภัยมาสู่การพัฒนาพื้นที่จริงให้มีความมั่นคงปลอดภัยจากสถานการณ์ต่าง ๆ และเป็นการสร้างเสถียรภาพและความน่าเชื่อถือให้เกิดขึ้นกับกรุงเทพมหานครต่อไปในอนาคต

ครั้งที่ 9 “กลุ่มสถาบันราชการ”

การประชุมระดมความคิดเห็น
แนวทางการปรับปรุงแผนผัง ข้อกำหนด และมาตรการทางผังเมือง
ครั้งที่ 9 “กลุ่มสถาบันราชการ”
วันพุธที่ 13 ธันวาคม 2560 เวลา 08.30-12.00 นาฬิกา ณ ห้องประชุม Auditorium ชั้น 2
ศูนย์ประชุมสัมมนา เดอะ คอนเน็คชั่น (The Connecion Seminar Center) สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินลาดพร้าว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร

สรุปสาระสำคัญ
ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2556 กำหนดประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทสถาบันราชการ (ส.) และการใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นเขตพระราชฐาน/ทหาร ประมาณ ร้อยละ 4.5 ของการใช้ประโยชน์ที่ดินตามผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2556 ซึ่งมีความหนาแน่นค่อนข้างต่ำ และมีพื้นที่โล่งว่างอีกจำนวนมากมีศักยภาพการพัฒนาสูง มีเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินภาครัฐส่วนใหญ่เป็นของราชพัสดุ ประมาณร้อยละ 3.95 ของที่ดินทั้งหมดประกอบกับแนวโน้มการจ้างงานภาครัฐสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 2 แสนคนเป็น 4 แสนคน จากปี พ.ศ.2533 – 2553 ซึ่งมีการกระจายตัวของการจ้างงานอยู่ตามที่ดินภาครัฐอย่างมีความสัมพันธ์กัน และสามารถใช้ศักยภาพการเข้าถึงที่ดินภาครัฐให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นจากการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนทางรางในกรุงเทพมหานคร

ครั้งที่ 10 “กลุ่มสาธารณูปโภค”

การประชุมระดมความคิดเห็น
แนวทางการปรับปรุงแผนผัง ข้อกำหนด และมาตรการทางผังเมือง
ครั้งที่ 10 “กลุ่มสาธารณูปโภค”
วันศุกร์ที่ 15 ธันวาคม 2560 เวลา 08.30-12.00 นาฬิกา ณ ห้องประชุม Auditorium ชั้น 2
ศูนย์ประชุมสัมมนา เดอะ คอนเน็คชั่น (The Connecion Seminar Center) สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินลาดพร้าว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร

สรุปสาระสำคัญ
จำนวนประชากรของกรุงเทพมหานครมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับมูลค่าทางเศรษฐกิจและการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นตามจำนวนประชากร ทำให้ความต้องการด้านสาธารณูปโภคมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในอนาคต ส่งผลไปถึงความต้องการด้านสาธารณูปโภคในอนาคตในแต่ละด้านที่จะเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะด้านไฟฟ้า น้ำประปา อินเตอร์เน็ต ปริมาณน้ำเสียที่ต้องกำจัด และปริมาณขยะมูลฝอย โดยแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯฉบับที่ 12 แผนพัฒนากรุงเทพฯ 20 ปี ระยะที่ 2 และวิสัยทัศน์กรุงเทพฯ 2575 มีแนวนโยบายให้กรุงเทพฯเป็นเมืองศูนย์กลาง เพียบพร้อมทั้งสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ปลอดมลพิษ และต้องมีทัศนียภาพที่งดงาม ประกอบกับตามพระราชบัญญัติผังเมืองรวม พ.ศ.2518 มาตรา 17 (3) ง ได้มีการระบุให้สามารถสงวนสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ที่เป็นที่ตั้งหรืออยู่ในแนวโครงข่ายสาธารณูปโภคได้ ภายในระยะเวลาบังคับใช้ผังเมืองรวม ซึ่งต้องแสดงขอบเขตให้ชัดเจนและจ่ายค่าชดเชยหรือยกเว้นภาษีในพื้นที่ดังกล่าว รูปแบบการคิดระบบสาธารณูปโภคควรใช้รูปแบบ Central System ในพื้นที่เมืองเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ และ Onsite System ในพื้นที่นอกเมืองในลักษณะติดตั้งเอง เพื่อให้เกิดความครอบคลุม รวมไปถึงรูปแบบ Common Utility Duct (ท่อสาธารณูปโภครวม) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบ ลดค่าบำรุงรักษาระยะยาว ส่งเสริมทัศนียภาพให้กับเมือง โดยสมควรให้มีในเขตกรุงเทพฯชั้นในและชั้นกลาง รวมถึงมาตรการที่ส่งเสริมด้านสาธารณูปโภค ประกอบด้วย กฎหมาย OSR FAR Bonus ให้มีที่กักเก็บน้ำฝน และโครงการ การโอนสิทธิการพัฒนา (TDR) ในพื้นที่อนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม

การประชุมระดมความคิดเห็นกลุ่มจังหวัดที่มีอาณาเขตติดต่อกับกรุงเทพมหานคร

การประชุมระดมความคิดเห็น – นครปฐม
การประชุมระดมความคิดเห็น – นครปฐม จังหวัดนครปฐม วันอังคารที่ 22 สิงหาคม 2560 12.00-16.30 น. ณ ห้องประชุมชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดนครปฐม นครปฐม
การประชุมระดมความคิดเห็น – สมุทรปราการ

การประชุมระดมความคิดเห็น – สมุทรปราการ
จังหวัดสมุทรปราการ วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม 2560 12.00-16.30 น.
ณ ห้องประชุม Auditorium โรงไฟฟ้าพระนครใต้ จังหวัดสมุทรปราการ

การประชุมระดมความคิดเห็น – ปทุมธานี
การประชุมระดมความคิดเห็น – ปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี วันพุธที่ 15 สิงหาคม 2560 12.00-16.30 น. ณ ห้องประชุมดุสิตา โรงแรมเอเชียแอร์พอร์ท
การประชุมระดมความคิดเห็น – สมุทรสาคร
การประชุมระดมความคิดเห็น – สมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร วันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม 2560 12.00-16.30 น. ณ ห้องประชุม 401 (พันท้ายนรสิงห์) ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดสมุทรสาคร
การประชุมระดมความคิดเห็น – ฉะเชิงเทราและนครนายก
การประชุมระดมความคิดเห็น – ฉะเชิงเทราและนครนายก จังหวัดฉะเชิงเทราและนครนายก วันพฤหัสบดีที่ 3 สิงหาคม 2560 12.00-16.30 น. ณ ห้องประชุมโชคอนันต์ ชั้น 2 อาคารเรียนรวมและอำนวยการ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
การประชุมระดมความคิดเห็น – นนทบุรี
การประชุมระดมความคิดเห็น – นนทบุรี จังหวัดนนทบุรี วันจันทร์ที่ 31 กรกฎาคม 2560 12.00-16.30 น. ณ ห้องประชุมเกาะเกร็ด ชั้น3 (ตึกเก่า) ศาลากลางจังหวัดนนทบุรี

การประชุมสัมมนาแบบพักค้าง

การประชุมสัมมนาแบบพักค้าง (2 วัน 1 คืน) เพื่อระดมความคิดต่อร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ของผู้ทรงคุณวุฒิ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง องค์กรและสมาคมวิชาชีพ ผู้บริหารกรุงเทพมหานคร และคณะทำงานของสำนักผังเมือง โครงการวางและจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงครั้งที่ 4) วันพฤหัสบดีที่ 20 – วันศุกร์ที่ 21 กรกฎาคม 2560 ณ โรงแรมกรีนเนอรี่ รีสอร์ท เขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา

ประมวลภาพ KICK-OFF MEETING

KICK-OFF MEETING
การประชุมเพื่อเริ่มต้นโครงการ (Kick-off Meeting) การประชุมภายในเพื่อเริ่มต้นโครงการ (Inner Kick-off Meeting)เป็นการนำเสนอชี้แจงรายละเอียด กรอบการทำงานหารือ และขอข้อเสนอแนะและข้อคิดเห็นจากคณะที่ปรึกษาและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการฯ ในวันเสาร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ.2560 ณ ห้องประชุมสยาม 1-3 ชั้น 9 โรงแรง MERCURE AND IBIS BANGKOK SIAM
INNER KICK-OFF MEETING
การประชุมภายในเพื่อเริ่มต้นโครงการ (Inner Kick-off Meeting) เป็นการนำเสนอชี้แจงรายละเอียดกรอบการทำงาน หารือและขอข้อเสนอแนะ และข้อคิดเห็นจากคณะที่ปรึกษาและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการฯ ในวันเสาร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ.2560 ณ ห้องประชุมสยาม 1-3 ชั้น 9 โรงแรม MERCURE AND IBIS BANGKOK SIAM
Visitor : 1,543